วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บนทึกอนุทินประจำวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

เนื้อหาวิชา

1. ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้

  • วิเคราะห์เนื้อหา
  • ศึกษาประสบการณ์จริง
  • บูรณาการคณิตศาสตร์
  • ออกแบบกิจกรรม
  2. หลักในการสร้างหน่วยการเรียนรู้
  • เรื่องใกล้ตัว
  • เรื่องที่มีผลต่อตัวเด็ก
3. ประสบการสำคัญที่เด็กควรได้รับ

  • ประสบการณ์ที่สำคัญที่ส่งเสริมด้านร่างกาย
  • ประสบการณ์ที่สำคัญที่ส่งเสริมด้านด้านจิตใจ-อารมณ์
  • ประสบการณ์ที่สำคัญที่ส่งเสริมด้านสงคม
  • ประสบการณ์ที่สำคัญที่ส่งเสริมด้านสติปัญญา




วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง

  1. มีกิจกรรมตัวอย่าง

  •  รูปสัตว์
  • จำนวนสัตว์
  • ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอนมีกิจกรรมสรอจแทรกให้หน้าสนใจ


   2. กิจกรรม 
  • นักศึกษาสร้าง Mind Mapping
  • นักศึกษาช่วยกันเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์



ทักษะที่ได้

     1. ทักษะการคิดและการวางแผนเขียน mindmap
     2. ทักษะการสอนใ้ห้เชื่องโยงกับ mindmap

การประยุกต์ใช้

   สอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์และ Mindmap เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ทำกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันแบบประชาธิปไตยหัวข้อในการเรียนการสอนจะต้องรียนรู้จากของจริง และต้องป็นประโยนช์กับตัวผู้รียน  และต้องช่วยส่งเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กได้ด้วย

บรรยากาศในห้อง

อากาศสบาย และไม่หนาวจนเกินไป ห้องสะอาดเรียบร้อย

ประเมิน

ประเมินเพื่อน
    นักศึกษาทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินผู้สอน
     น้ำเสียงชัดเจน เนื้อหาที่นำมามีประโยชน์ต่อนักศึกษามาก คือ เทคนิคการจัดประสบการณ์คณติศาสตร์ให้น่าสนใจ

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2558

เนื้อหาวิชา
1. ผู้สอนให้นักศึกษา แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ให้ทำกิจกรรม ต่อไม้โดยมีดินน้ำมนป็นตัวเชื่อมเป็นรูปทรงตามคำสั่งดังนี้

  • ต่อเป็นรูปสามเลี่ยม
  • ต่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม
  • ต่อเป็นรูปอะไรก็ได้
  • ต่อป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
  • ต่อป็นรูปทรงสี่หลี่ยม
  • ต่อเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ 
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
  • รูปแบบการจัดประสบการณื แบบโครงการ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบ STEM
  • รูปแบบการจักประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง

       
         
วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง
   
  • นักศึกษานำเสนองาน เรื่อง รูปแบบการจักประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
  • นักศึกษานำเสนองาน เรื่อง รูปแบบการจักประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์
  • นักศึกษานำเสนองาน เรื่อง รูปแบบการจักประสบการณ์แบบสมอง BBL
  • นักศึกษานำเสนองาน เรื่อง รูปแบบการจักประสบการณ์แบบ STEM
  • เลขที่ 2 สนอบทความ คณิ๖ศาตร์สำหรบดกปฐมวัย
  • เลขที่25 นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่องสร้างื้นฐานการรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
  • ลขที่ 26 นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง การสอนคริตสาตร์ยใช้นิทาน

    
ทักษะที่ได้


  • ทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการต่อไม้โดยใช้ดินน้ำมันเป็นตัวเชื่อม 
  • ทักษะการคิด วิธีการต่อไม้โดยใช้ดินน้ำมันเป็นตัวเชื่อมเื่อให้เป็นรูปทรงตามคำสั่ง
  • ทักษะการใช้ภาษาและการออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน


 การประยุกต์ใช้
   จากงานที่เพื่อนนำเสนอมา ในเรื่องของการสอนในรูปแบต่างๆ ทำให้นักศึกษามีแนวคิดและใช้เป็นแนวทางที่สามารถจะไปปรับใช้ในการสอนในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยอย่างถูกวิธี


 บรรยากาศในห้อง
ห้องสะอาดเรียบร้อย  สื่อ วัสดุ มีความพร้อมในการเรียนการสอน 


ประเมิน


ประเมินเพื่อน


    นักศึกษาทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างต้งใจแลสนุกสนาน  


ประเมินผู้สอน
              การใช้น้ำเสียง สียงดงฟงชด อธิบายได้ละเอียด เข้าใจง่าย และให้คำแนะนำได้ดีแก่นักศึกษา

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวนที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2558

เนื้อหาวิชา
1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ให้แต่ง เพลง นิทาน และปริศนาคำทาย มานำเสนอหน้าช้นเรียน โดยมีนื้อหาจากสาระการเรีนรรู้คณิตศาสตร์ดังนี้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

 วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง
1. นักศึกษาเลขที่ 24 นำเสนองานวิจัย
1. นักศึกษาเลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง เทคนิคเลขอนุบาล
1. นักศึกษาเลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง เสริมการเรียนเลขในวัยอนุบาล

ทักษะที่ได้
1. ทักษะการใช้ภาษาในการแต่ง นิทาน คำล้องจอง และเพลง
2. ทักษะการคิด การฟัง และสรุปวิจัยที่เพื่อนออกมานำเสนอ

การประยุกต์ใช้
    เราสามารถนำเทคนิคต่างๆ เช่น การแต่งเพลง นิทาน คำคล้องจอง มาบูรณาการในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ได้ โดยการแทรกเนื้อหาลงไป โดยที่เด็กเองก็ไม่รู้ตัวว่ากำลังเรียนคณิตศาสตร์อยู่ ทำให้เด็กไม่เครียด แลสนุกกับเทคนิคที่เรานำไปสอน
 บรรยากาศในห้อง

 ห้องสะอาดเรียบร้อย  สื่อ วัสดุ มีความพร้อมในการเรียนการสอน 

ประเมิน

ประเมินเพื่อน

    นักศึกษาทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม  

ประเมินผู้สอน
              น้ำเสียงมีดทน มีระดับ อักขระชัดเจน แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ใช้คำถามปลายเปิดพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดเยอะๆ 

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2558

เนื้อหาวิชา
การสอนแบบโครงการ 
           การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่ง         เสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วย             ตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ 
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ

ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา

ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น

ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
 วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง
1.นักศึกษาเลขที่ 21 นำเสนอบทความ การสอนคณิตศาสต์จากชีวิตรอบตัว
2.นักศึกษานำเสนองาน หัวข้อ การสอนแบบโครงการ
ทักษะที่ได้
1. ทักษะการคิดและการตอบคำถาม
2. ทักษะการฟังและการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ 
การประยุกต์ใช้ 
  
การจัดการสอนแบบโครงการนำมาประยุกต์ใช้ดยให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องที่เขาสนใจทั้งในแนวกว้างและแนวลุ่มลึกที่เขาสามารถเรียนได้ สนับสนุนเด็กให้สืบหาคำตอบด้วยตนเอง 
บรรยากาศในห้อง
 ห้องสะอาดเรียบร้อย  สื่อ วัสดุ มีความพร้อมในการเรียนการสอน
ประเมิน
ประเมินเพื่อน
    นักศึกษาทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 
ประเมินผู้สอน
              น้ำเสียงมีดทน มีระดับ อักขระชัดเจน แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ใช้คำถามปลายเปิดพื่อให้นกศึกษาได้ใช้ความคิดยอะๆ 

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558



เนื้อหาวิชา

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย (Integrated Learning Management)

- รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ
- รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบโครงการ
- รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน
- รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบSTEM
- รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่
- รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง

วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง

1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2. นักศึกษาเลขที่ 17 นำเสนอ โทรทัศน์ครู
3.อธิบายด้วยโปรแกรม Power Point และการแตกความคิดในรูปแบบของ Mind Map

ทักษะที่ได้

1. ทักษะการคิดและการตอบคำถาม
2. ทักษะการสรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้รับ

การประยุกต์ใช้

   สอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองให้ความสำคัญกับครูและนักเรียนเท่าเทียมกัน ทำกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันแบบประชาธิปไตย
หัวข้อในการเรียนการสอนจะต้องรียนรู้จากของจริง และต้องป็นปรโยนช์กับตัวผู้รียน

บรรยากาศในห้อง

อากาศสบาย และไม่หนาวจนเกินไป ห้องสะอาดเรียบร้อย

ประเมิน

ประเมินเพื่อน
    นักศึกษาทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินผู้สอน
     น้ำเสียงชัดเจน เนื้อหาที่นำมามีประโยชน์ต่อนักศึกษามาก คือ เทคนิคการจัดประสบการณ์คณติศาสตร์ให้น่าสนใจ

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

เนื้อหาวิชา

เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

1. นิทาน การใช้นิทานที่มีเนื้อหาง่าย เข้าใจง่าย ใช้นิทานที่มีการเกิดเหตุการต่างๆ๘ึ้นเป็นลำดับข้นตอน      เพราะจะช่วยให้เด็กมีทักษะคณิตศาสตร์ด้าน การเรียงลำดับการเกิดเหตุการณ์ ว่าเหตการณ์ใดเกิดขึ้น      ก่อ หรือเหตุการณ์ใดเกิดข้นทีหลัง

2.เพลง การใช้เพลงที่มีเนื้อร้อง เกี่ยวกับตัวเลข เช่น เพลงนิ้ว เด็กก็จะได้การนับเลข

เพลงนิ้ว 

นี่คือนิ้วมือของฉัน
มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
   มือซ้ายฉันมี ห้า นิ้ว   
มือขวา ก็มี ห้า นิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า 
นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนับจงอย่ารีบ
นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

3. เกมส์การศึกษา จะมีหลายชนิดเช่น การจับคู่ การเรียงลำดับ ความสัมพันธ์ 2 แกน การต่อปลาย พื้น          ฐานการบวก
4. ปริศนาคำทาย  เช่น การนำเอาเนื้อหาคณิตศาสตร์ไปใส่ในนิทาน ทายปริศนาต่างๆ
5. บทบาทสมมติ  การจัดมุมประสบการณ์ ใช้ของเล่นในแนวของมอนเตสซอรี่ ที่ครูต้องสาธิตการเล่นให้     เด็กได้ดูก่อน
6. การประกอบอาหาร  ส่วนประกอบ อัตราส่วน ปริมาตร ปริมาน ของอาหาร ของส่วนผสมของอาหาร

วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง
1. ลงชื่อ เพื่อเลือกสานที่ ที่นักศึกษาอยากไปมากที่สุด การสอนลกษณแบบนี้ เป็นการสอนให้เด็กได้           ลงมือปฏิบัติ เด็กจะได้การนับ ( นับจำนวนเพื่อนที่ลงชื่อ เลือกสถานที่ต่างๆ )
2. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน หัวข้อ เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มีอะไรบ้าง
3. นักศึกษาเลขที่ 13-15 นำเสนอ วิจัย

ทักษะที่ได้

1. ทักษะการร้องเพลง 
2.ทักษะการบูรณาการการสอนคณิตศาสตร์

การประยุกต์ใช้

      การสอนคณิตศาสร์ ไม่จำเป็นต้องขึ้นการดานสอนเท่านั้น แต่เราสามารถนำเทคนิค ต่างๆไปปรับใช้ได้เช่น นำเนื้อหาคณิศาสตร์ ไปสอดเเทรก ทำให้เด็กได้เรียนรู้คณิสาตร์โดยไม่น่าเบื่อ นำไปแทรกในนิทาน ในเกมส์การสึกษา เพลง เป็นต้น ตัวของคุณครูเองก็ต้องมีลีลา ลูกเล่นด้วยเพื่อเพิ่มความดงดูด ความสนใจต่อเด็ก

บรรยากาศในห้อง

อากาศไม่ร้อน และไม่หนาวจนเกินไป เเละเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและรอยยิ้มของนักศึกษาทุกคน

ประเมิน

ประเมินเพื่อน
นักศึกษาทุกคนให้ความร่วมือในการทำกิจกรรม

ประเมินผู้สอน
น้ำเสียงชัดเจน เนื้อหาที่นำมามีประโยชน์ต่อนักศึกษามาก คือ เทคนิคการจัดประสบการณ์คณติศาสตร์ให้น่าสนใจ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

เนื้อหาวิชา

1. มาตรฐานคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

     มาตรฐานคือ ข้อกำหนดหรือเกณฑ์ เพื่อพิจจารณาคุณภาพของสิ่ง สิ่งหนึ่ง เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดคุณภาพ

2. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ : เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้ในชีวิตจริง
สาระที่2 การวัด : เข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานในการวัดในสิ่งที่ต้องการวัด
สาระที่3 เรขาคณิต : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต รู้จักการบอกตำเเหน่ง
สาระที่4 พืชคณิต : เข้าใจรูปทรงและความสัมพันธ์
สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น : มีความเข้าใจในการวิเคราะห์ใช้ความน่าจะเป็นในการ                                                                                ตัดสินใจ
สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : มีความสามรถในการแก้ไขปัญหา การให้เหตุผล 

3. คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

    เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ และมีทักาะ มีความรู้  เพื่อเตรียมความพร้อมในระดับประถมศึกษา
     - มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ 
     - มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานคณิตศาตร์ เช่น ความยาว น้ำหนัก ขนาด ปริมาตร เป็นต้น
     - มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง ทิสทาง ระยะทาง เป็นต้น
     - มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
     - มีกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง

1. อาจารย์ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้เดิมของนักศึกษาก่อนที่จะนำสู่เข้าบท         เรียน
2. ตัวแทนเลขที่ 10-12 นำเสนอบทความเกี่ยวกับคริตศาสตร์
3. อาจารย์ให้นักศึกษานำป้ายชื่อของตนเองไปติดที่บอร์ดเพื่อ แสดงให้เห็นถึงเรื่องที่เกี่ยวกับ                     คณิตศาสตร์ คือการนำจำนวนเพื่อนที่มาเรียนในวันนี้ เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม
4. อาจารย์นำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนคือ
เพลงจัดเเถว

        สองมือเราชูตรง    แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
     ต่อไย้ายมาข้างหน้า       แล้วเองลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

ทักษะที่ได้

1. ทักษะการเคลื่อนไหว เพลงที่อาจารย์นำมาสามาถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้เพราะมีท่า         ประกอบที่ง่าย และเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย
2. ได้ทักษะการฟังและการจับใจความสำคัญของการฟังบทความที่เพื่อนนำมาเสนอ และ เนื้อหาที่               อาจารย์นำมาสอนฃ

การประยุกต์ใช้

     สามารถนำสาระและมาตรฐานทั้ง 6 สาระไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม เช่น การที่เราจะคิดกิจกรรมที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เราต้องคำนึงถึงสาระที่เด็กจะได้รับด้วย ทั้งใน6 สาระที่ก็จะระบุไว้ว่าเด็กควรได้รับทักษะเรื่องใดบ้างเกี่ยวกับคริตศาสต์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก วิธีการสอนเราต้องสอนแบบบูรณารการ คือ หนึ่งกิจกรรมสามารถ สอนแทรกความรู้ได้หลายวิชา


การสอนแบบบูรณาการ


บรรยากาศในห้อง

อากาศพอดี ห้องสะอาด บรรยากาศน่าเรียน

ประเมิน

ประเมินเพื่อน 
1.นางสาว ภณิชา กาบเครือ  พูดเสียงดังชัดเจน มีการเตรียมตัวมาดี น้ำเสียงมีจังหวะ น่าฟัง
ภาพโดยรวมของเพื่อนๆในห้อง ให้ความร้วมมือค่อนข้างดี แต่เพื่อนที่ได้รับมอบหมายให้มานำเสนอบทความไม่ได้เตรียมตัวมาทำให้มีการนำเสนอแค่เพื่อนคนเดียว

ประเมินผู้สอน
แต่กายสุภาพเรียบร้อย น้ำเสียงชัดเจน มีการนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ก็คือ เพลง ทำให้นักศึกษากระตือรือล้นมากขึ้น และทำให้บรรยากาศในห้องไม่น่าเบื่อ ผู้สอนมีการทดสอบความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะนำสู่เข้าเนื้อหาเพื่อที่จะสอนได้ถูต้อง  เป็นสิ่งที่ดีมาก เป็นสิ่งผู้สอนทุกคนควรจะมี

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 28 มกราคม พ.ศ 2558

เนื้อหาวิชา
1. ทฤษฎีเพียเจต์กับการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
     เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ผ่าน ประสาทสัมผัส

2. จุดมุ่งหมายการสอนคณิตศาสตร์
     -ให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานทางคณิศาสตร์ เช่น คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
     -เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ
     -เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการเพื่อหาคำตอบ
     -เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน และมีความเข้าใจ
    -ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้งยตนเอง

3. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
    -การจำแนกประเภท (classifying) แบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ในกาจำแนก คือความเหมือน ความต่าง และความสัมพันธ์
   -การสังเกต (Observation) กาใช้ประสาทสัมผัส โดยการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งของ
   -การเปรียบเทียบ เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุ หรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป เด็กต้องมีความเข้าในเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้
   -การจัดลำดับ  เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง เป็นการจัดลำดับหรือเหตุการณ์
   -การวัด (Measurement) มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์ การวัดสำหรับปฐมวัยได้แก่ เวลา อุณหภูมิ ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาน การวัดจะไม่ใช้หน่วยวัดมาตรฐาน เช่น จะใช้มือวัด ใช้นิ้ววัด
   -การนับ (Counting)  เด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่มีความหมาย
   -รูปทรงและขนาด (Shavp and Size) เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน

4. การตั้งเกณฑ์  ต้องตั้งให้ชัดเจน ตั้งเกณฑ์เป็นเกณฑ์เดียว การตั้งคำถาม คือโจท์ สำหรับคณิตศาสตร์และ การตอบของเด็กจะมีหลายวิธี ครูจะต้องรับวิธีการค้นหาคำตอบของเด็กได้

วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง

1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความรู้เดิมของนักศึกษา
2. อาจารย์ให้เขียนชื่อใส่กระดาษที่อาจารย์กำหนดมาให้  และตั้งคำถามว่า 1.ใครมาถึงมหาวิทยาลัยก่อน     8.00 น.ให้นำชื่อมาติดฝั่งซ้ายมือที่เป็นเวลาก่อน 8.00 น. 2. ใครที่มาถึงมหาวิทยาลัยหลัง 8.00น. ให้นำ    ชื่อมาติดฝังขวา
3. นักศึกษาเลขที่ 7-9 ออกไปนำเสนอและสรุปโทรทัศน์ครู ได้แก่ นางสาวเปมิกา เปาะทองคำ นางสาว       อัมพิกา แช่มนุ้ย และ นางสาว ภูษณิษา กาบเครือ

ทักษะที่ได้

1. ได้ทักษะการฟัง จากเพื่อนที่ออกมานำเสนอ โทรทัศน์ครู เพราะเราต้องตั้งใจฟังเพื่อสรุปความเข้าใจ       ในเนื้อหาของเพื่อนที่ออกมานำเสนอ
2. ได้ทักษะการคิด อาจารย์จะใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้มีพื้นที่แสดงความคิดเห็นของ             ตนเอง โดยไม่มีคำว่าผิด หรือถูก

การประยุกต์ใช้

     จากที่ดิฉันได้เรียนรู้เรื่อง จุดมุ่งหมายการสอนคณิตศาสตร์และ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทำให้ดิฉันทราบแนวทางการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาขึ้น เพื่อพัฒนาทักษาะทางด้านความคิดของเด็กปฐมวัย การสอนเรื่องการเเบ่งหรือการจำแนกลักษณะของสิ่งต่างๆ เราต้องตั้งเป็นเกณฑ์เดี่ยว  การตั้งคำถาม ก็เปรียบเสมือน เป็นโจทย์คณิตศาสตร์ของเด็ก การตอบของเด็กจะมีหลายวิธี คนที่เป็นครูต้องสามารถยอมรับในการหาคำตอบของเด็ก ไม่ควรไปพูดว่ามันผิด 

บรรยากาศในห้องเรียน

     บรรยากาศน่าเรียน อากาศไม่เย็นเกินไป 

การประเมิน
     ประเมินเพื่อน
1. นางสาว เปมิกา เปาะทองคำ พูดเสียงดัง ชัดเจน มีติดขัดเล็กน้อย
2. นางสาว อัมพิกา  แช่มนุ้ย  พูดเร็ว น้ำเสียงฟังอยาก ออกเสียงไม่ชัดเจน
3. นางสาว ภูษนิษา กาเครือ นำเสนอได้ดีมาก มีการเตรียมตัวที่ดี พูดไม่ติดขัด น้ำเสียงน่าฟัง 
    เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้อง ช่วยกันระดมความคิดตอบคำถามร่วมกัน

     ประเมินผู้สอน
การแต่งกายสุภาพ เรียบร้อย อธิบายเสียงดัง ชัดเจน และเข้าใจง่าย มีการทดสอบความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาในวันนี้ เป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ




   
    

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน
ความหมายพัฒนาการ
      พัฒนาการคือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์ของพัฒนาการ
     เป็นความสามารถที่เด็กทำได้หรือไม่ได้ในเเต่ละช่วงวัย เพื่อนำไปจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมต่อพัฒนาการเด็กเพราะเด็กมีความแตกต่างกัน

ทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญา
    1.เพียเจต์   เด็กวัย  แรกเกิด-2 ปี  วัยนี้จะใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เป็นระยะที่เด็กมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบๆตัว โดยการใช้วัยวะสัมผัส เช่น การหยิบ จับ เคลื่อนไหว
    2.บรูเนอร์  เด็กจะสร้างภาพขึ้นมาแทนของจริง เรียกว่า จินตนาการ
    3.ไวกอตซกี้  เชื่อว่า ความสามารถจะเกิดขึ้นได้ดีถ้าเด็กมีความสัมพันธ์หรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และที่สำคัญผู้ปกครองต้องมีส่วนช่วยด้วย

การทำงานของสมอง
    เมื่อจัดให้เป็นลำดับขั้นตอน  เด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่น คือต้องได้ลงมือกระทำจริงต่อวัตถุ เพื่อที่เราจะสามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

หลักการจัดประสบการคณิตศาสตร์
    1.จัดกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม 
    2.กิจกรรมต้งน่าสนใจ เช่น สื่อที่ใช้ต้องสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้
    3.เด็กต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรม เด็กต้องได้ทดลองด้วยตัวเอง
   4.กิจกรรมต้องไม่ใช้เวลานานเกินไป ระยะเวลาต้อบจัดให้เหมาสม
    
วิธีสอนเเละกิจกรรมในห้อง
อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยใช้สื่อ Powerpoint ในการสอน หลังจากนั้น ก็ให้เลขที่ 4-6 ออกไปนำเสนอวิจัยที่ เพื่อนๆได้เตรียมมา และร่วมกันสรุปวิจัยที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอ

ทักษะที่ได้
1. ได้ทักษะการฟัง และจับใจความ จากการที่เพื่อนได้ออกไปนำเสนอวิจัย 
2. ได้ทักษะการระดมความคิด จากการ คิดเพลงปฐมวัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสต์ ซึ่งนักศึกษารู้เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์น้อยมาก

การประยุกต์ใช้
จากที่ได้เรียนรู้เรื่องพัฒนาการ เราสามารถ ที่จะจัดกิจกรรมเพื่องสงเสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมโดยต้องคำนึงถึงพัฒนาการ รวมไปถึง ศักยภาพความสามาถของเด็กด้วย เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันไม่ควรยึดเด็กคนใดคนนึงเป็นหลัก และต้องให้เด็กได้ลงมือกระทำ แก้ปัญหาด้วยตัวเองบ้าง

บรรยากาศในห้องเรียน

บรรยากาศในห้องเรียน ไม่น่าเบื่อ เพราะอาจารย์ ให้นักศึกษาได้มีการร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้เพื่อนๆทักคนสนุกสนาน 

การเประเมิน

ประเมินเพื่อน

     ช่วงเเรกของการออกไปนำเสนอวิจัย
1.นางสาว วัญเพ็ญ ใหม่สุด  การพูดออกเสียงไม่ชัดเจนบางคำ น้ำเสียงเบา มีการสบตากับคนฟังเล็กน้อย
   อยู่ในเกณฑ์ พอใช้
2.นางสาว สุวนันท์  โสดารัตน์   พูดเร็วเกินไป ไม่มีการสบตากับคนฟัง ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนที่จะนำเสนอ 
3.นางสาว วีรดา  ตรีมิ่งมิตร  พูดเร็วกว่า สัวนันท์  แต่ดูมีการเตรียมตัวมา ทีกาอธิบายเพิ่มเติมจากเนื้อหา

ประเมินผู้สอน

   อาจารย์แต่งตัวสุภาพ เรียบร้อย เวลาอธิบายเนื้อหา เสียงดังชัดเจนดีมาก ทำให้เข้าใจง่าย มีการใช้สื่อประกอบ
การเรียนการสอน คือ Powerpoint และมีให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นการทดสอบ
ความรู้เดิมของนักศึกษา 
     
     
     
     

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2558

เนื้อหาที่เรียน
1.ความหมายของคณิตศาสตร์
   คณิตศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณ หรือ วิชาที่ว่าด้วยตัวเลข (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542 : 214 )
เด็กปฐมวัยไม่ได้เรียน คณิตศาสตร์แค่เฉพาะตัวเลข หรทอจำนวนเท่านั้น แตาเด็กสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการสังเกต หรือเปรียบเทียบ เรื่องขนาดของสิ่งของ  จำนวนของสิ่งของ ขนาดเพิ่มลด หรือมริมาน ซึ่งถ้าเป็นเรื่องที่อยู่รอบๆตัวเด็กจะทำให้เด็กเห็นเป็น รูปธรรมเเละเข้าใจง่าย

2.ความสำคํญของคณิตศาสตร์
    สมทรง ดอนแก้วบัว ( 2528 : 8-12 )  สรุปไว้ว่า วิชาคณิตศาสตร์มีความสำคัญและมีบทบาทต่อบุคคลมาก คณิตศาสตร์ช่วยฝึกให้คนมีความคิดรอบคอบ  คณิตศาสตร์ยังเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์และเป็นวิชาหลัก ฝึกในเรื่องการสังเกต และเป็นกุญแจนำไปสู่วิชาการใหม่ ๆ มากมาย
 
   ยุพิน พิพิธกุล ( 2530 : 2-3)   คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด  เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไมคณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม  สัญลักษณ์ที่รัดกุม  สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด  เช่น  อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด  สมการ  3+5   ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน  คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ

3.ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   เด็กควรได้รับทักษะคณิตศาสตร์ในด้านต่างๆ เช่น เวลา จำนวน การจัดหมวดหมู่ รูปร่างรูปทรง รู้จักความสัมพันธ์ระหว่าจำนวนกับตัวเลข เป็นต้น

4.ประโยชน์ของคณิศาสตร์
   คณิตศาสตร์ สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ทั้งในบ้านและนอกบ้าน  เช่น การซื้อขายสินค้า การบ่งบอกเวลา ตังเลขอยู่รอบๆตัวเรสตลอดเวลา

ทักษะที่ได้
   
วันนี้คุณครูได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มระดมความคิด ตามหัวข้อที่ได้เเละออกมานำเสนอ สรุปหน้าชั้นเรียน
ได้ฝึกทักษะ การอ่านเเละสรุปใจความ ทักษะการระดมความคิดกับสมาชิกในกลุ่ม และทักษะการนำเสนอ
วิธีที่สอน

1.ระดมความคิด ด้วยการให้นักศึกษา ศึกษาด้วยตนเอง และให้นำเสนอ
2.อธิบาย ยกตัวอย่าง คณิตศาสตร์ที่อยู่ในชีวิตประวันของเรา 

การประยุกต์ใช้

วันนี้ได้เข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากขึ้น ว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน จัวเลขอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา เช่น เบอร์ดทรศัพท์ของเรา จำนวนเงินในกระเป๋า ค่ารถประจำทางมาหมาวิทยาลัย คำขนม ค่าอาหาร เป็นต้น และตัวเลขแต่ละตัวก็สามารถบ่งบอกถึงความหมายต่างๆเช่น จำนวนเดือน คือ การบอกลำดับ, เลขที่บ้าน บอกถึง พิกัด หรือ ลำดับบ้านในพื้นที่แต่ละเขตนั้นๆ 


บรรยากาศในห้องเรียน

แอร์เย็นเกินไป พื้นที่ในห้องไม่ค่อยสะดวกในการเคลื่อนไหว

การประเมิน
ประเมินอาจารย์  อธิบายได้ชัดเจนเเละเข้าใจ มีการยกตัวอย่างมาอธิบายให้ฟังเกี่ยวกับตัวเลย อาจารย์แต่งตัวเรียบร้อย พูดเสียงดังฟังชัด
ประเมินตนเอง วันนี้ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกกรมที่อาจารย์บอก 

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ เลขคณิตคิดสนุก

บบความ"เลขคณิตคิดสนุก แนะพ่อแม่สอนลูกๆ จากกิจกรรมในบ้าน"

"คณิตศาสตร์ทำไมยากจัง?" นี่อาจเป็นความคิดที่กำลังผุดขึ้นมาในหัวสมองของเด็กๆ หลายคน หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่เองก็ตาม เอ! แล้วอย่างนี้จะมีวิธีไหนที่ช่วยให้ลูกๆ หลานๆ รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยาก และอยากเรียนวิชานี้มากขึ้นบ้างนะ ผู้จัดการวิทยาศาสตร์มีคำตอบ จากนักวิชาการมาเฉลยให้ฟังกัน
       

       สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ผู้ปกครองกับการส่งเสริม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยตนเองที่บ้าน” โดยอาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 24 ส.ค.51 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2551 ที่ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ร่วมเข้าฟังด้วย
      
       อ.สุรัชน์ บอกว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง ทว่ายังขาดการให้เหตุผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กฝึกคิดหาเหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ
      
       อีกทั้ง เนื่องจากการเรียนการสอนที่โรงเรียนอัดแน่นเนื้อหาเอาไว้มาก ทำให้คุณครูผู้สอนมักเร่งรีบสอนเพื่อให้จบเนื้อหา เด็กๆ จึงไม่ค่อยได้ทำกิจกรรม เช่น เรียนเรื่องการชั่ง ตวง วัด แต่เด็กไม่เคยได้สัมผัสเครื่องชั่งจริงๆ เลยสักที ทำให้เด็กๆ ขาดทักษะส่วนนี้ไป ซึ่งทักษะเหล่านี้จำเป็นต่อการเรียนคณิตศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ใช่แค่เรียนบวก ลบ คูณ หาร เท่านั้น
      
       "คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น" อ.สุรัชน์ กล่าว
      
       อ.สุรัชน์ ยกตัวอย่างกิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด
      
       หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยาก
      
       เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาขบคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง หรือเมื่ออยู่สนามเด็กเล่น ก็มักพบเห็นรูปทรงเรขาคณิตได้ในเครื่องเล่นทั่วไป ก็กำหนดเป็นโจทย์ให้เด็กทำความรู้จักกับรูปทรงต่างๆ คำนวนหาพื้นที่จากรูปทรงเหล่านั้น เช่น ลูกฟุตบอล ล้อรถจักกระยาน เป็นต้น
      
       อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ การประดิษฐ์กล่องของขวัญ ซึ่งนอกจากผู้ปกครองและเด็กจะได้ใช้เวลาทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันแล้ว เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะอีกมากมายจากการประดิษฐ์กล่องสัก 1 ใบ
      
       เริ่มแรกอาจนำกล่องที่มีอยู่แล้ว มาแกะและพิจารณาดูว่าเขาทำอย่างไร จึงได้เป็นกล่องใบนั้นขึ้นมา แล้วจากนั้นจึงทดลองทำกล่องใบใหม่ ซึ่งการทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ และครั้งต่อไปก็อาจปรับเปลี่ยนรูปแบบกล่องที่ซับซ้อนมากขึ้น และการประดิษฐ์กล่องนั้นยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในระดับสูงขึ้นไปอีกด้วย
      
       นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า หรือเกมไพ่ผสม 10 ซึ่งเกมเหล่านี้สามารถพลิกเพลงได้หลายอย่าง เกมไพ่ อาจไม่จำเป็นต้องผสม 10 แต่เป็นผสม 7 หรือ ผสม 11 ก็สามารถเล่นได้ทั้งหมด ในการให้เด็กฝึกทักษะคิดเลข
      
       การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย  และในการเล่นเกมก็มักมีกลยุทธที่ช่วยให้ชนะได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เด็กจะยังไม่รู้ในตอนแรก และผู้ปกครองเองก็ไม่ควรบอก แต่ปล่อยให้เด็กค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง
      
       "การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักไม่ค่อยนำมาใช้" อ.สุรัชน์ เผย
      
       "การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น" อ.สุรัชน์ กล่าว และบอกอีกว่ายังเป็นการประเมินได้ด้วยว่าเด็กๆ ได้ความรู้จากที่โรงเรียนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเนื้อหาเรียนได้จากที่โรงเรียน แต่ที่บ้านคือการนำมาใช้จริง
      
       อย่างไรก็ตา อ.สุรัชน์ บอกอีกว่าคณิตศาสตร์มีความเป็นนามธรรม มากกว่าวิชาอื่นๆ เพราะฉะนั้นคุณครู จึงควรมีทักษะที่สามารถดึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในคณิตศาสตร์ ออกมานำเสนอให้เด็กสนใจได้ ส่วนผู้ปกครองก็ไม่ควรปล่อยให้การเรียนการสอนเป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว และควรปรับเปลี่ยนทัศนคติต้องไม่คิดว่าตนเองเคยเรียนมาอย่างไร ลูกก็ต้องเรียนอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน
      
       ผู้ปกครองควรจะติดตามความก้าวหน้า ของหลักสูตรการเรียนการสอนในปัจจุบันด้วย เพื่อที่จะได้เสริมทักษะให้ลูกหลานได้ถูกต้อง ซึ่งเดี๋ยวนี้มีสื่อและเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่น่าสนใจให้เลือกมากมาย ทั้งจากหนังสือ คอมพิวเตอร์ หรือของหน่วนงานต่างๆ ผู้ปกครองต้องหมั่นค้นหาเพิ่มเติม และนำมาสอนลูกหลานด้วยตัวเอง ก็จะช่วยเพิ่มทักษะของเด็กได้มากขึ้น.


สรุปบทความเลขคณิตคิดสนุก แนะพ่อแม่สอนลูกๆ จากกิจกรรมในบ้าน

          การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น" อ.สุรัชน์ กล่าว และบอกอีกว่ายังเป็นการประเมินได้ด้วยว่าเด็กๆ ได้ความรู้จากที่โรงเรียนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเนื้อหาเรียนได้จากที่โรงเรียน แต่ที่บ้านคือการนำมาใช้จริง
          การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย  และในการเล่นเกมก็มักมีกลยุทธที่ช่วยให้ชนะได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เด็กจะยังไม่รู้ในตอนแรก และผู้ปกครองเองก็ไม่ควรบอก แต่ปล่อยให้เด็กค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย เรื่อง ผลการใช้ชุดกิจกรรมในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

สรุปงานวิจัย เรื่อง ผลการใช้ชุดกิจกรรมในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ชื่องานวิจัย ผลการใช้ชุดกิจกรรมในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


ผู้จัดทำ ตน วงศ์ราชา 

บทนำ   
          
         ในบทนำผู้วิจัยมองเห็นว่าการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัยนั้นมีความสำคัญที่จะต้องจัดให้เด็กได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน และเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กนั้นครูควรจัดให้ครบรอบด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาด้านสติปัญญา เชิงการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้องมีหลักการ สามารถจัดประสบการณ์ให้เกิดผลสูงสุด
          ผู้วิจัยจึงเกิดแนวคิดและมีความสนใจในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและสอดคล้องกับบริบทของชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่ คือการใช้ไม้ไอศกรีม ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย แล้วนำเอาไปจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น การนับจำนวน การแยกสี การสร้างรูปเรขาคณิตจากความคิดสร้างสรรค์ ที่ผู้วิจัยต้องการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเพื่อเป็นเเนวทางในการนำเอาชุดจัดประสบการณ์ไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

         1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตราเกณฑ์
         2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรม

ขอบเขตของการศึกษา

           ตัวแปรที่ศึกษา มีดังนี้
      1) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ วิธีจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4สี
      2) ตัวแปรตาม ได้แก่ ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

วิธีการดำเนินกิจกรรม

         กลุ่มตัวอย่าง เด็กปฐมวัย อายุ4-5ปี จำนวน 1ห้องเรียน ทั้งหมด30คน

เครื่องมือการวิจัย
  
        เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
              1)แผนการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรม
              2)ชุดกิจกรรม ไม้ไอศกรีม 4สี เพื่อให้เกิดประสบการณ์เรื่อง การสังเกต จำแนก และเปรียบเทียบ
        เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
              1)แบบทดสอบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
              2)แบบสังเกตคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์

สรุปผลการวิจัย

             ผลของการวิจัยเมื่อได้นำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยแล้วสามารถสรุปได้ว่า เมื่อเด็กทำกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4สีแล้ว ในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น พัฒนาการของเด็กสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4สี นั่นอาจเป็นเพราะว่า แผนการจัดประสบการณ์เปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้ใช้วิธีการเรียนรู้และรับการจัดประสบการณ์ของตนเองได้ตามความสามารถ โดยผ่านการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง มีโอกาสได้ทดลองทำ ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การค้นพบและสรุปผล จึงทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้ 


       เมื่อได้อ่านงานวิจัยแล้ว เราสามารถนำตัวกิจกรรมที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น มาเป็นแนวทางในการจะจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ โดยเฉพาะแนวคิดในเรื่องการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กที่เน้นพัฒนาการของเด็ก การเรียนรู้สิ่งรอบๆตัวและการใช้สื่อที่หาได้ง่ายจากบริบทนั้นๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตามพัฒนาการของเค้าได้อย่างเหมาะสม

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 7 มกราคม 2558

1. เนื้อหาที่เรียน
จุดมุ่งหมายของรายวิชา
  1. คุณธรรม จริยธรรม
  2. ความรู้
  3. ทักษะทางปัญญา นำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์
  4. ความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล
  5. ทักษะทางสังคม ประมวล สารสนเทศ
  6. ทักษะของการจัดการเรียนรู้
2. ทักษะที่ได้

1. ทักษะทางสังคม คือ การระดมความคิดเห็น เพื่อตอบคำภามในชั้นเรียน
2. ทักษะของกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามในชั้นเรียน 

3. วีธีสอน

1. การระดมความคิด 
2. การใช้โปรแกรม My map
3. การใช้สื่อ online

4. การประยุกต์ใช
สามารถนำทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ได้ เช่นทักษะทางสังคม การระดมความคิดเห็น การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และการคิดวิเคราะห์

5. บรรยากาศในการเรียน

บรรยากาศในห้องเย็นเกินไป นักศึกษามาเรียนน้อยเพราะเป็นสัปดาห์เเรกของการเรียน 

6. ตัวผู้สอน

อาจารย์แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย พูดเสียงดังฟังชัด ไม่พูดเร็วเกินไป