วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่เรียน
ความหมายพัฒนาการ
      พัฒนาการคือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์ของพัฒนาการ
     เป็นความสามารถที่เด็กทำได้หรือไม่ได้ในเเต่ละช่วงวัย เพื่อนำไปจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมต่อพัฒนาการเด็กเพราะเด็กมีความแตกต่างกัน

ทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญา
    1.เพียเจต์   เด็กวัย  แรกเกิด-2 ปี  วัยนี้จะใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เป็นระยะที่เด็กมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบๆตัว โดยการใช้วัยวะสัมผัส เช่น การหยิบ จับ เคลื่อนไหว
    2.บรูเนอร์  เด็กจะสร้างภาพขึ้นมาแทนของจริง เรียกว่า จินตนาการ
    3.ไวกอตซกี้  เชื่อว่า ความสามารถจะเกิดขึ้นได้ดีถ้าเด็กมีความสัมพันธ์หรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และที่สำคัญผู้ปกครองต้องมีส่วนช่วยด้วย

การทำงานของสมอง
    เมื่อจัดให้เป็นลำดับขั้นตอน  เด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่น คือต้องได้ลงมือกระทำจริงต่อวัตถุ เพื่อที่เราจะสามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

หลักการจัดประสบการคณิตศาสตร์
    1.จัดกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม 
    2.กิจกรรมต้งน่าสนใจ เช่น สื่อที่ใช้ต้องสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้
    3.เด็กต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรม เด็กต้องได้ทดลองด้วยตัวเอง
   4.กิจกรรมต้องไม่ใช้เวลานานเกินไป ระยะเวลาต้อบจัดให้เหมาสม
    
วิธีสอนเเละกิจกรรมในห้อง
อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยใช้สื่อ Powerpoint ในการสอน หลังจากนั้น ก็ให้เลขที่ 4-6 ออกไปนำเสนอวิจัยที่ เพื่อนๆได้เตรียมมา และร่วมกันสรุปวิจัยที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอ

ทักษะที่ได้
1. ได้ทักษะการฟัง และจับใจความ จากการที่เพื่อนได้ออกไปนำเสนอวิจัย 
2. ได้ทักษะการระดมความคิด จากการ คิดเพลงปฐมวัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสต์ ซึ่งนักศึกษารู้เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์น้อยมาก

การประยุกต์ใช้
จากที่ได้เรียนรู้เรื่องพัฒนาการ เราสามารถ ที่จะจัดกิจกรรมเพื่องสงเสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมโดยต้องคำนึงถึงพัฒนาการ รวมไปถึง ศักยภาพความสามาถของเด็กด้วย เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันไม่ควรยึดเด็กคนใดคนนึงเป็นหลัก และต้องให้เด็กได้ลงมือกระทำ แก้ปัญหาด้วยตัวเองบ้าง

บรรยากาศในห้องเรียน

บรรยากาศในห้องเรียน ไม่น่าเบื่อ เพราะอาจารย์ ให้นักศึกษาได้มีการร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้เพื่อนๆทักคนสนุกสนาน 

การเประเมิน

ประเมินเพื่อน

     ช่วงเเรกของการออกไปนำเสนอวิจัย
1.นางสาว วัญเพ็ญ ใหม่สุด  การพูดออกเสียงไม่ชัดเจนบางคำ น้ำเสียงเบา มีการสบตากับคนฟังเล็กน้อย
   อยู่ในเกณฑ์ พอใช้
2.นางสาว สุวนันท์  โสดารัตน์   พูดเร็วเกินไป ไม่มีการสบตากับคนฟัง ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนที่จะนำเสนอ 
3.นางสาว วีรดา  ตรีมิ่งมิตร  พูดเร็วกว่า สัวนันท์  แต่ดูมีการเตรียมตัวมา ทีกาอธิบายเพิ่มเติมจากเนื้อหา

ประเมินผู้สอน

   อาจารย์แต่งตัวสุภาพ เรียบร้อย เวลาอธิบายเนื้อหา เสียงดังชัดเจนดีมาก ทำให้เข้าใจง่าย มีการใช้สื่อประกอบ
การเรียนการสอน คือ Powerpoint และมีให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นการทดสอบ
ความรู้เดิมของนักศึกษา 
     
     
     
     

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2558

เนื้อหาที่เรียน
1.ความหมายของคณิตศาสตร์
   คณิตศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณ หรือ วิชาที่ว่าด้วยตัวเลข (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542 : 214 )
เด็กปฐมวัยไม่ได้เรียน คณิตศาสตร์แค่เฉพาะตัวเลข หรทอจำนวนเท่านั้น แตาเด็กสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการสังเกต หรือเปรียบเทียบ เรื่องขนาดของสิ่งของ  จำนวนของสิ่งของ ขนาดเพิ่มลด หรือมริมาน ซึ่งถ้าเป็นเรื่องที่อยู่รอบๆตัวเด็กจะทำให้เด็กเห็นเป็น รูปธรรมเเละเข้าใจง่าย

2.ความสำคํญของคณิตศาสตร์
    สมทรง ดอนแก้วบัว ( 2528 : 8-12 )  สรุปไว้ว่า วิชาคณิตศาสตร์มีความสำคัญและมีบทบาทต่อบุคคลมาก คณิตศาสตร์ช่วยฝึกให้คนมีความคิดรอบคอบ  คณิตศาสตร์ยังเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์และเป็นวิชาหลัก ฝึกในเรื่องการสังเกต และเป็นกุญแจนำไปสู่วิชาการใหม่ ๆ มากมาย
 
   ยุพิน พิพิธกุล ( 2530 : 2-3)   คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด  เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไมคณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม  สัญลักษณ์ที่รัดกุม  สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด  เช่น  อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด  สมการ  3+5   ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน  คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ

3.ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   เด็กควรได้รับทักษะคณิตศาสตร์ในด้านต่างๆ เช่น เวลา จำนวน การจัดหมวดหมู่ รูปร่างรูปทรง รู้จักความสัมพันธ์ระหว่าจำนวนกับตัวเลข เป็นต้น

4.ประโยชน์ของคณิศาสตร์
   คณิตศาสตร์ สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ทั้งในบ้านและนอกบ้าน  เช่น การซื้อขายสินค้า การบ่งบอกเวลา ตังเลขอยู่รอบๆตัวเรสตลอดเวลา

ทักษะที่ได้
   
วันนี้คุณครูได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มระดมความคิด ตามหัวข้อที่ได้เเละออกมานำเสนอ สรุปหน้าชั้นเรียน
ได้ฝึกทักษะ การอ่านเเละสรุปใจความ ทักษะการระดมความคิดกับสมาชิกในกลุ่ม และทักษะการนำเสนอ
วิธีที่สอน

1.ระดมความคิด ด้วยการให้นักศึกษา ศึกษาด้วยตนเอง และให้นำเสนอ
2.อธิบาย ยกตัวอย่าง คณิตศาสตร์ที่อยู่ในชีวิตประวันของเรา 

การประยุกต์ใช้

วันนี้ได้เข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากขึ้น ว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน จัวเลขอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา เช่น เบอร์ดทรศัพท์ของเรา จำนวนเงินในกระเป๋า ค่ารถประจำทางมาหมาวิทยาลัย คำขนม ค่าอาหาร เป็นต้น และตัวเลขแต่ละตัวก็สามารถบ่งบอกถึงความหมายต่างๆเช่น จำนวนเดือน คือ การบอกลำดับ, เลขที่บ้าน บอกถึง พิกัด หรือ ลำดับบ้านในพื้นที่แต่ละเขตนั้นๆ 


บรรยากาศในห้องเรียน

แอร์เย็นเกินไป พื้นที่ในห้องไม่ค่อยสะดวกในการเคลื่อนไหว

การประเมิน
ประเมินอาจารย์  อธิบายได้ชัดเจนเเละเข้าใจ มีการยกตัวอย่างมาอธิบายให้ฟังเกี่ยวกับตัวเลย อาจารย์แต่งตัวเรียบร้อย พูดเสียงดังฟังชัด
ประเมินตนเอง วันนี้ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกกรมที่อาจารย์บอก 

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ เลขคณิตคิดสนุก

บบความ"เลขคณิตคิดสนุก แนะพ่อแม่สอนลูกๆ จากกิจกรรมในบ้าน"

"คณิตศาสตร์ทำไมยากจัง?" นี่อาจเป็นความคิดที่กำลังผุดขึ้นมาในหัวสมองของเด็กๆ หลายคน หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่เองก็ตาม เอ! แล้วอย่างนี้จะมีวิธีไหนที่ช่วยให้ลูกๆ หลานๆ รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยาก และอยากเรียนวิชานี้มากขึ้นบ้างนะ ผู้จัดการวิทยาศาสตร์มีคำตอบ จากนักวิชาการมาเฉลยให้ฟังกัน
       

       สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ผู้ปกครองกับการส่งเสริม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยตนเองที่บ้าน” โดยอาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 24 ส.ค.51 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2551 ที่ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ร่วมเข้าฟังด้วย
      
       อ.สุรัชน์ บอกว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง ทว่ายังขาดการให้เหตุผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กฝึกคิดหาเหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ
      
       อีกทั้ง เนื่องจากการเรียนการสอนที่โรงเรียนอัดแน่นเนื้อหาเอาไว้มาก ทำให้คุณครูผู้สอนมักเร่งรีบสอนเพื่อให้จบเนื้อหา เด็กๆ จึงไม่ค่อยได้ทำกิจกรรม เช่น เรียนเรื่องการชั่ง ตวง วัด แต่เด็กไม่เคยได้สัมผัสเครื่องชั่งจริงๆ เลยสักที ทำให้เด็กๆ ขาดทักษะส่วนนี้ไป ซึ่งทักษะเหล่านี้จำเป็นต่อการเรียนคณิตศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ใช่แค่เรียนบวก ลบ คูณ หาร เท่านั้น
      
       "คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น" อ.สุรัชน์ กล่าว
      
       อ.สุรัชน์ ยกตัวอย่างกิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด
      
       หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยาก
      
       เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาขบคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง หรือเมื่ออยู่สนามเด็กเล่น ก็มักพบเห็นรูปทรงเรขาคณิตได้ในเครื่องเล่นทั่วไป ก็กำหนดเป็นโจทย์ให้เด็กทำความรู้จักกับรูปทรงต่างๆ คำนวนหาพื้นที่จากรูปทรงเหล่านั้น เช่น ลูกฟุตบอล ล้อรถจักกระยาน เป็นต้น
      
       อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ การประดิษฐ์กล่องของขวัญ ซึ่งนอกจากผู้ปกครองและเด็กจะได้ใช้เวลาทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันแล้ว เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะอีกมากมายจากการประดิษฐ์กล่องสัก 1 ใบ
      
       เริ่มแรกอาจนำกล่องที่มีอยู่แล้ว มาแกะและพิจารณาดูว่าเขาทำอย่างไร จึงได้เป็นกล่องใบนั้นขึ้นมา แล้วจากนั้นจึงทดลองทำกล่องใบใหม่ ซึ่งการทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ และครั้งต่อไปก็อาจปรับเปลี่ยนรูปแบบกล่องที่ซับซ้อนมากขึ้น และการประดิษฐ์กล่องนั้นยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในระดับสูงขึ้นไปอีกด้วย
      
       นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า หรือเกมไพ่ผสม 10 ซึ่งเกมเหล่านี้สามารถพลิกเพลงได้หลายอย่าง เกมไพ่ อาจไม่จำเป็นต้องผสม 10 แต่เป็นผสม 7 หรือ ผสม 11 ก็สามารถเล่นได้ทั้งหมด ในการให้เด็กฝึกทักษะคิดเลข
      
       การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย  และในการเล่นเกมก็มักมีกลยุทธที่ช่วยให้ชนะได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เด็กจะยังไม่รู้ในตอนแรก และผู้ปกครองเองก็ไม่ควรบอก แต่ปล่อยให้เด็กค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง
      
       "การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักไม่ค่อยนำมาใช้" อ.สุรัชน์ เผย
      
       "การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น" อ.สุรัชน์ กล่าว และบอกอีกว่ายังเป็นการประเมินได้ด้วยว่าเด็กๆ ได้ความรู้จากที่โรงเรียนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเนื้อหาเรียนได้จากที่โรงเรียน แต่ที่บ้านคือการนำมาใช้จริง
      
       อย่างไรก็ตา อ.สุรัชน์ บอกอีกว่าคณิตศาสตร์มีความเป็นนามธรรม มากกว่าวิชาอื่นๆ เพราะฉะนั้นคุณครู จึงควรมีทักษะที่สามารถดึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในคณิตศาสตร์ ออกมานำเสนอให้เด็กสนใจได้ ส่วนผู้ปกครองก็ไม่ควรปล่อยให้การเรียนการสอนเป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว และควรปรับเปลี่ยนทัศนคติต้องไม่คิดว่าตนเองเคยเรียนมาอย่างไร ลูกก็ต้องเรียนอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน
      
       ผู้ปกครองควรจะติดตามความก้าวหน้า ของหลักสูตรการเรียนการสอนในปัจจุบันด้วย เพื่อที่จะได้เสริมทักษะให้ลูกหลานได้ถูกต้อง ซึ่งเดี๋ยวนี้มีสื่อและเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่น่าสนใจให้เลือกมากมาย ทั้งจากหนังสือ คอมพิวเตอร์ หรือของหน่วนงานต่างๆ ผู้ปกครองต้องหมั่นค้นหาเพิ่มเติม และนำมาสอนลูกหลานด้วยตัวเอง ก็จะช่วยเพิ่มทักษะของเด็กได้มากขึ้น.


สรุปบทความเลขคณิตคิดสนุก แนะพ่อแม่สอนลูกๆ จากกิจกรรมในบ้าน

          การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น" อ.สุรัชน์ กล่าว และบอกอีกว่ายังเป็นการประเมินได้ด้วยว่าเด็กๆ ได้ความรู้จากที่โรงเรียนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเนื้อหาเรียนได้จากที่โรงเรียน แต่ที่บ้านคือการนำมาใช้จริง
          การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย  และในการเล่นเกมก็มักมีกลยุทธที่ช่วยให้ชนะได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เด็กจะยังไม่รู้ในตอนแรก และผู้ปกครองเองก็ไม่ควรบอก แต่ปล่อยให้เด็กค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย เรื่อง ผลการใช้ชุดกิจกรรมในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

สรุปงานวิจัย เรื่อง ผลการใช้ชุดกิจกรรมในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ชื่องานวิจัย ผลการใช้ชุดกิจกรรมในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


ผู้จัดทำ ตน วงศ์ราชา 

บทนำ   
          
         ในบทนำผู้วิจัยมองเห็นว่าการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัยนั้นมีความสำคัญที่จะต้องจัดให้เด็กได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน และเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กนั้นครูควรจัดให้ครบรอบด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาด้านสติปัญญา เชิงการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้องมีหลักการ สามารถจัดประสบการณ์ให้เกิดผลสูงสุด
          ผู้วิจัยจึงเกิดแนวคิดและมีความสนใจในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและสอดคล้องกับบริบทของชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่ คือการใช้ไม้ไอศกรีม ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย แล้วนำเอาไปจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น การนับจำนวน การแยกสี การสร้างรูปเรขาคณิตจากความคิดสร้างสรรค์ ที่ผู้วิจัยต้องการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเพื่อเป็นเเนวทางในการนำเอาชุดจัดประสบการณ์ไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

         1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตราเกณฑ์
         2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรม

ขอบเขตของการศึกษา

           ตัวแปรที่ศึกษา มีดังนี้
      1) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ วิธีจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4สี
      2) ตัวแปรตาม ได้แก่ ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

วิธีการดำเนินกิจกรรม

         กลุ่มตัวอย่าง เด็กปฐมวัย อายุ4-5ปี จำนวน 1ห้องเรียน ทั้งหมด30คน

เครื่องมือการวิจัย
  
        เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
              1)แผนการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรม
              2)ชุดกิจกรรม ไม้ไอศกรีม 4สี เพื่อให้เกิดประสบการณ์เรื่อง การสังเกต จำแนก และเปรียบเทียบ
        เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
              1)แบบทดสอบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
              2)แบบสังเกตคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์

สรุปผลการวิจัย

             ผลของการวิจัยเมื่อได้นำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยแล้วสามารถสรุปได้ว่า เมื่อเด็กทำกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4สีแล้ว ในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น พัฒนาการของเด็กสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4สี นั่นอาจเป็นเพราะว่า แผนการจัดประสบการณ์เปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้ใช้วิธีการเรียนรู้และรับการจัดประสบการณ์ของตนเองได้ตามความสามารถ โดยผ่านการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง มีโอกาสได้ทดลองทำ ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การค้นพบและสรุปผล จึงทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้ 


       เมื่อได้อ่านงานวิจัยแล้ว เราสามารถนำตัวกิจกรรมที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น มาเป็นแนวทางในการจะจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ โดยเฉพาะแนวคิดในเรื่องการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กที่เน้นพัฒนาการของเด็ก การเรียนรู้สิ่งรอบๆตัวและการใช้สื่อที่หาได้ง่ายจากบริบทนั้นๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตามพัฒนาการของเค้าได้อย่างเหมาะสม

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 7 มกราคม 2558

1. เนื้อหาที่เรียน
จุดมุ่งหมายของรายวิชา
  1. คุณธรรม จริยธรรม
  2. ความรู้
  3. ทักษะทางปัญญา นำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์
  4. ความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล
  5. ทักษะทางสังคม ประมวล สารสนเทศ
  6. ทักษะของการจัดการเรียนรู้
2. ทักษะที่ได้

1. ทักษะทางสังคม คือ การระดมความคิดเห็น เพื่อตอบคำภามในชั้นเรียน
2. ทักษะของกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามในชั้นเรียน 

3. วีธีสอน

1. การระดมความคิด 
2. การใช้โปรแกรม My map
3. การใช้สื่อ online

4. การประยุกต์ใช
สามารถนำทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ได้ เช่นทักษะทางสังคม การระดมความคิดเห็น การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และการคิดวิเคราะห์

5. บรรยากาศในการเรียน

บรรยากาศในห้องเย็นเกินไป นักศึกษามาเรียนน้อยเพราะเป็นสัปดาห์เเรกของการเรียน 

6. ตัวผู้สอน

อาจารย์แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย พูดเสียงดังฟังชัด ไม่พูดเร็วเกินไป