วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวนที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2558

เนื้อหาวิชา
1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ให้แต่ง เพลง นิทาน และปริศนาคำทาย มานำเสนอหน้าช้นเรียน โดยมีนื้อหาจากสาระการเรีนรรู้คณิตศาสตร์ดังนี้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

 วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง
1. นักศึกษาเลขที่ 24 นำเสนองานวิจัย
1. นักศึกษาเลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง เทคนิคเลขอนุบาล
1. นักศึกษาเลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง เสริมการเรียนเลขในวัยอนุบาล

ทักษะที่ได้
1. ทักษะการใช้ภาษาในการแต่ง นิทาน คำล้องจอง และเพลง
2. ทักษะการคิด การฟัง และสรุปวิจัยที่เพื่อนออกมานำเสนอ

การประยุกต์ใช้
    เราสามารถนำเทคนิคต่างๆ เช่น การแต่งเพลง นิทาน คำคล้องจอง มาบูรณาการในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ได้ โดยการแทรกเนื้อหาลงไป โดยที่เด็กเองก็ไม่รู้ตัวว่ากำลังเรียนคณิตศาสตร์อยู่ ทำให้เด็กไม่เครียด แลสนุกกับเทคนิคที่เรานำไปสอน
 บรรยากาศในห้อง

 ห้องสะอาดเรียบร้อย  สื่อ วัสดุ มีความพร้อมในการเรียนการสอน 

ประเมิน

ประเมินเพื่อน

    นักศึกษาทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม  

ประเมินผู้สอน
              น้ำเสียงมีดทน มีระดับ อักขระชัดเจน แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ใช้คำถามปลายเปิดพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดเยอะๆ 

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2558

เนื้อหาวิชา
การสอนแบบโครงการ 
           การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่ง         เสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วย             ตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ 
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ

ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา

ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น

ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
 วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง
1.นักศึกษาเลขที่ 21 นำเสนอบทความ การสอนคณิตศาสต์จากชีวิตรอบตัว
2.นักศึกษานำเสนองาน หัวข้อ การสอนแบบโครงการ
ทักษะที่ได้
1. ทักษะการคิดและการตอบคำถาม
2. ทักษะการฟังและการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ 
การประยุกต์ใช้ 
  
การจัดการสอนแบบโครงการนำมาประยุกต์ใช้ดยให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องที่เขาสนใจทั้งในแนวกว้างและแนวลุ่มลึกที่เขาสามารถเรียนได้ สนับสนุนเด็กให้สืบหาคำตอบด้วยตนเอง 
บรรยากาศในห้อง
 ห้องสะอาดเรียบร้อย  สื่อ วัสดุ มีความพร้อมในการเรียนการสอน
ประเมิน
ประเมินเพื่อน
    นักศึกษาทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 
ประเมินผู้สอน
              น้ำเสียงมีดทน มีระดับ อักขระชัดเจน แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ใช้คำถามปลายเปิดพื่อให้นกศึกษาได้ใช้ความคิดยอะๆ 

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558



เนื้อหาวิชา

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย (Integrated Learning Management)

- รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ
- รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบโครงการ
- รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน
- รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบSTEM
- รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่
- รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง

วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง

1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2. นักศึกษาเลขที่ 17 นำเสนอ โทรทัศน์ครู
3.อธิบายด้วยโปรแกรม Power Point และการแตกความคิดในรูปแบบของ Mind Map

ทักษะที่ได้

1. ทักษะการคิดและการตอบคำถาม
2. ทักษะการสรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้รับ

การประยุกต์ใช้

   สอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองให้ความสำคัญกับครูและนักเรียนเท่าเทียมกัน ทำกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันแบบประชาธิปไตย
หัวข้อในการเรียนการสอนจะต้องรียนรู้จากของจริง และต้องป็นปรโยนช์กับตัวผู้รียน

บรรยากาศในห้อง

อากาศสบาย และไม่หนาวจนเกินไป ห้องสะอาดเรียบร้อย

ประเมิน

ประเมินเพื่อน
    นักศึกษาทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินผู้สอน
     น้ำเสียงชัดเจน เนื้อหาที่นำมามีประโยชน์ต่อนักศึกษามาก คือ เทคนิคการจัดประสบการณ์คณติศาสตร์ให้น่าสนใจ