วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

เนื้อหาวิชา

เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

1. นิทาน การใช้นิทานที่มีเนื้อหาง่าย เข้าใจง่าย ใช้นิทานที่มีการเกิดเหตุการต่างๆ๘ึ้นเป็นลำดับข้นตอน      เพราะจะช่วยให้เด็กมีทักษะคณิตศาสตร์ด้าน การเรียงลำดับการเกิดเหตุการณ์ ว่าเหตการณ์ใดเกิดขึ้น      ก่อ หรือเหตุการณ์ใดเกิดข้นทีหลัง

2.เพลง การใช้เพลงที่มีเนื้อร้อง เกี่ยวกับตัวเลข เช่น เพลงนิ้ว เด็กก็จะได้การนับเลข

เพลงนิ้ว 

นี่คือนิ้วมือของฉัน
มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
   มือซ้ายฉันมี ห้า นิ้ว   
มือขวา ก็มี ห้า นิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า 
นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนับจงอย่ารีบ
นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

3. เกมส์การศึกษา จะมีหลายชนิดเช่น การจับคู่ การเรียงลำดับ ความสัมพันธ์ 2 แกน การต่อปลาย พื้น          ฐานการบวก
4. ปริศนาคำทาย  เช่น การนำเอาเนื้อหาคณิตศาสตร์ไปใส่ในนิทาน ทายปริศนาต่างๆ
5. บทบาทสมมติ  การจัดมุมประสบการณ์ ใช้ของเล่นในแนวของมอนเตสซอรี่ ที่ครูต้องสาธิตการเล่นให้     เด็กได้ดูก่อน
6. การประกอบอาหาร  ส่วนประกอบ อัตราส่วน ปริมาตร ปริมาน ของอาหาร ของส่วนผสมของอาหาร

วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง
1. ลงชื่อ เพื่อเลือกสานที่ ที่นักศึกษาอยากไปมากที่สุด การสอนลกษณแบบนี้ เป็นการสอนให้เด็กได้           ลงมือปฏิบัติ เด็กจะได้การนับ ( นับจำนวนเพื่อนที่ลงชื่อ เลือกสถานที่ต่างๆ )
2. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน หัวข้อ เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มีอะไรบ้าง
3. นักศึกษาเลขที่ 13-15 นำเสนอ วิจัย

ทักษะที่ได้

1. ทักษะการร้องเพลง 
2.ทักษะการบูรณาการการสอนคณิตศาสตร์

การประยุกต์ใช้

      การสอนคณิตศาสร์ ไม่จำเป็นต้องขึ้นการดานสอนเท่านั้น แต่เราสามารถนำเทคนิค ต่างๆไปปรับใช้ได้เช่น นำเนื้อหาคณิศาสตร์ ไปสอดเเทรก ทำให้เด็กได้เรียนรู้คณิสาตร์โดยไม่น่าเบื่อ นำไปแทรกในนิทาน ในเกมส์การสึกษา เพลง เป็นต้น ตัวของคุณครูเองก็ต้องมีลีลา ลูกเล่นด้วยเพื่อเพิ่มความดงดูด ความสนใจต่อเด็ก

บรรยากาศในห้อง

อากาศไม่ร้อน และไม่หนาวจนเกินไป เเละเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและรอยยิ้มของนักศึกษาทุกคน

ประเมิน

ประเมินเพื่อน
นักศึกษาทุกคนให้ความร่วมือในการทำกิจกรรม

ประเมินผู้สอน
น้ำเสียงชัดเจน เนื้อหาที่นำมามีประโยชน์ต่อนักศึกษามาก คือ เทคนิคการจัดประสบการณ์คณติศาสตร์ให้น่าสนใจ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

เนื้อหาวิชา

1. มาตรฐานคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

     มาตรฐานคือ ข้อกำหนดหรือเกณฑ์ เพื่อพิจจารณาคุณภาพของสิ่ง สิ่งหนึ่ง เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดคุณภาพ

2. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ : เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้ในชีวิตจริง
สาระที่2 การวัด : เข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานในการวัดในสิ่งที่ต้องการวัด
สาระที่3 เรขาคณิต : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต รู้จักการบอกตำเเหน่ง
สาระที่4 พืชคณิต : เข้าใจรูปทรงและความสัมพันธ์
สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น : มีความเข้าใจในการวิเคราะห์ใช้ความน่าจะเป็นในการ                                                                                ตัดสินใจ
สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : มีความสามรถในการแก้ไขปัญหา การให้เหตุผล 

3. คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

    เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ และมีทักาะ มีความรู้  เพื่อเตรียมความพร้อมในระดับประถมศึกษา
     - มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ 
     - มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานคณิตศาตร์ เช่น ความยาว น้ำหนัก ขนาด ปริมาตร เป็นต้น
     - มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง ทิสทาง ระยะทาง เป็นต้น
     - มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
     - มีกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง

1. อาจารย์ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้เดิมของนักศึกษาก่อนที่จะนำสู่เข้าบท         เรียน
2. ตัวแทนเลขที่ 10-12 นำเสนอบทความเกี่ยวกับคริตศาสตร์
3. อาจารย์ให้นักศึกษานำป้ายชื่อของตนเองไปติดที่บอร์ดเพื่อ แสดงให้เห็นถึงเรื่องที่เกี่ยวกับ                     คณิตศาสตร์ คือการนำจำนวนเพื่อนที่มาเรียนในวันนี้ เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม
4. อาจารย์นำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนคือ
เพลงจัดเเถว

        สองมือเราชูตรง    แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
     ต่อไย้ายมาข้างหน้า       แล้วเองลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

ทักษะที่ได้

1. ทักษะการเคลื่อนไหว เพลงที่อาจารย์นำมาสามาถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้เพราะมีท่า         ประกอบที่ง่าย และเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย
2. ได้ทักษะการฟังและการจับใจความสำคัญของการฟังบทความที่เพื่อนนำมาเสนอ และ เนื้อหาที่               อาจารย์นำมาสอนฃ

การประยุกต์ใช้

     สามารถนำสาระและมาตรฐานทั้ง 6 สาระไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม เช่น การที่เราจะคิดกิจกรรมที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เราต้องคำนึงถึงสาระที่เด็กจะได้รับด้วย ทั้งใน6 สาระที่ก็จะระบุไว้ว่าเด็กควรได้รับทักษะเรื่องใดบ้างเกี่ยวกับคริตศาสต์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก วิธีการสอนเราต้องสอนแบบบูรณารการ คือ หนึ่งกิจกรรมสามารถ สอนแทรกความรู้ได้หลายวิชา


การสอนแบบบูรณาการ


บรรยากาศในห้อง

อากาศพอดี ห้องสะอาด บรรยากาศน่าเรียน

ประเมิน

ประเมินเพื่อน 
1.นางสาว ภณิชา กาบเครือ  พูดเสียงดังชัดเจน มีการเตรียมตัวมาดี น้ำเสียงมีจังหวะ น่าฟัง
ภาพโดยรวมของเพื่อนๆในห้อง ให้ความร้วมมือค่อนข้างดี แต่เพื่อนที่ได้รับมอบหมายให้มานำเสนอบทความไม่ได้เตรียมตัวมาทำให้มีการนำเสนอแค่เพื่อนคนเดียว

ประเมินผู้สอน
แต่กายสุภาพเรียบร้อย น้ำเสียงชัดเจน มีการนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ก็คือ เพลง ทำให้นักศึกษากระตือรือล้นมากขึ้น และทำให้บรรยากาศในห้องไม่น่าเบื่อ ผู้สอนมีการทดสอบความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะนำสู่เข้าเนื้อหาเพื่อที่จะสอนได้ถูต้อง  เป็นสิ่งที่ดีมาก เป็นสิ่งผู้สอนทุกคนควรจะมี

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำวันที่ 28 มกราคม พ.ศ 2558

เนื้อหาวิชา
1. ทฤษฎีเพียเจต์กับการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
     เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ผ่าน ประสาทสัมผัส

2. จุดมุ่งหมายการสอนคณิตศาสตร์
     -ให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานทางคณิศาสตร์ เช่น คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
     -เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ
     -เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการเพื่อหาคำตอบ
     -เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน และมีความเข้าใจ
    -ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้งยตนเอง

3. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
    -การจำแนกประเภท (classifying) แบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ในกาจำแนก คือความเหมือน ความต่าง และความสัมพันธ์
   -การสังเกต (Observation) กาใช้ประสาทสัมผัส โดยการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งของ
   -การเปรียบเทียบ เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุ หรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป เด็กต้องมีความเข้าในเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้
   -การจัดลำดับ  เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง เป็นการจัดลำดับหรือเหตุการณ์
   -การวัด (Measurement) มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์ การวัดสำหรับปฐมวัยได้แก่ เวลา อุณหภูมิ ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาน การวัดจะไม่ใช้หน่วยวัดมาตรฐาน เช่น จะใช้มือวัด ใช้นิ้ววัด
   -การนับ (Counting)  เด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่มีความหมาย
   -รูปทรงและขนาด (Shavp and Size) เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน

4. การตั้งเกณฑ์  ต้องตั้งให้ชัดเจน ตั้งเกณฑ์เป็นเกณฑ์เดียว การตั้งคำถาม คือโจท์ สำหรับคณิตศาสตร์และ การตอบของเด็กจะมีหลายวิธี ครูจะต้องรับวิธีการค้นหาคำตอบของเด็กได้

วิธีการสอน/กิจกรรมในห้อง

1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความรู้เดิมของนักศึกษา
2. อาจารย์ให้เขียนชื่อใส่กระดาษที่อาจารย์กำหนดมาให้  และตั้งคำถามว่า 1.ใครมาถึงมหาวิทยาลัยก่อน     8.00 น.ให้นำชื่อมาติดฝั่งซ้ายมือที่เป็นเวลาก่อน 8.00 น. 2. ใครที่มาถึงมหาวิทยาลัยหลัง 8.00น. ให้นำ    ชื่อมาติดฝังขวา
3. นักศึกษาเลขที่ 7-9 ออกไปนำเสนอและสรุปโทรทัศน์ครู ได้แก่ นางสาวเปมิกา เปาะทองคำ นางสาว       อัมพิกา แช่มนุ้ย และ นางสาว ภูษณิษา กาบเครือ

ทักษะที่ได้

1. ได้ทักษะการฟัง จากเพื่อนที่ออกมานำเสนอ โทรทัศน์ครู เพราะเราต้องตั้งใจฟังเพื่อสรุปความเข้าใจ       ในเนื้อหาของเพื่อนที่ออกมานำเสนอ
2. ได้ทักษะการคิด อาจารย์จะใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้มีพื้นที่แสดงความคิดเห็นของ             ตนเอง โดยไม่มีคำว่าผิด หรือถูก

การประยุกต์ใช้

     จากที่ดิฉันได้เรียนรู้เรื่อง จุดมุ่งหมายการสอนคณิตศาสตร์และ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทำให้ดิฉันทราบแนวทางการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาขึ้น เพื่อพัฒนาทักษาะทางด้านความคิดของเด็กปฐมวัย การสอนเรื่องการเเบ่งหรือการจำแนกลักษณะของสิ่งต่างๆ เราต้องตั้งเป็นเกณฑ์เดี่ยว  การตั้งคำถาม ก็เปรียบเสมือน เป็นโจทย์คณิตศาสตร์ของเด็ก การตอบของเด็กจะมีหลายวิธี คนที่เป็นครูต้องสามารถยอมรับในการหาคำตอบของเด็ก ไม่ควรไปพูดว่ามันผิด 

บรรยากาศในห้องเรียน

     บรรยากาศน่าเรียน อากาศไม่เย็นเกินไป 

การประเมิน
     ประเมินเพื่อน
1. นางสาว เปมิกา เปาะทองคำ พูดเสียงดัง ชัดเจน มีติดขัดเล็กน้อย
2. นางสาว อัมพิกา  แช่มนุ้ย  พูดเร็ว น้ำเสียงฟังอยาก ออกเสียงไม่ชัดเจน
3. นางสาว ภูษนิษา กาเครือ นำเสนอได้ดีมาก มีการเตรียมตัวที่ดี พูดไม่ติดขัด น้ำเสียงน่าฟัง 
    เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้อง ช่วยกันระดมความคิดตอบคำถามร่วมกัน

     ประเมินผู้สอน
การแต่งกายสุภาพ เรียบร้อย อธิบายเสียงดัง ชัดเจน และเข้าใจง่าย มีการทดสอบความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาในวันนี้ เป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ